วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Forex Trading System บทเรียนการวิเคราะห์ตลาด Forex

Forex Trading System บทเรียนการวิเคราะห์ตลาด Forex


บทเรียนโดย the_greenday

เอื้อเฟื้อโดย ThailandInvestorClub.com ( ผู้สนับสนุน และเจ้าของพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ )


บทเรียนที่ 1 : มองแนวโน้มให้ออกก่อน

หลักการมองแนวโน้ม เริ่มจากการมองเทรนด์ให้ออกก่อนเสมอ เทรนด์ในตลาดจะมีแค่ 3 แบบ

  • Up Trend แบบขาขึ้น จะวิ่งขึ้นอย่างเดียว (เหมาะกับการเข้าเทรด)
  • Down Trend แบบขาลง จะวิ่งลงอย่างเดียว (เหมาะกับการเข้าเทรด)
  • Sideways Trend แบบขนานเคลื่อนตัวไปทางด้านข้างแบบฟันปลา ขึ้นๆลงๆ พูดง่ายๆกราฟวิ่งไม่สวย ไม่มีแนวโน้ม (ตลาดช่วงนี้ นักลงทุนมักจะขาดทุนเสมอๆ) sideways แยกออกได้เป็น sideways ในช่วง (พักตัว) เทรนด์ขาขึ้น sideways ในช่วง(พักตัว)เทรนด์ขาลง

ดูภาพประกอบในการวิเคราะห์แนวโน้ม CLICK

เมื่อมองแนวโน้มแล้วรู้ว่าแบบนี้คือ ขึ้น ลง หรือด้านข้างแล้ว ต่อมาก็มาเรียนรู้การเริ่มสร้างแนวโน้ม


ถามตอบท้ายบทเรียนที่ 1 : มองแนวโน้มให้ออกก่อน

ในช่วงที่หมดเทรนด์รอบนั้นๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ขาขึ้นหรือขาลง เราควรจะรอดูกราฟวิ่งก่อนมั๊ยครับ หรือว่าเราสามารถเข้าเทรดได้เลย เพราะดูจากบางกราฟแล้ว บางทีก็มี sideways บางทีก็เข้าต่อได้เลย ช่วยแนะนำเพิ่มเติมให้ด้วยครับ

รอดูการวิ่งก่อนครับ ดูการสร้างแนวโน้ม ให้เกิดการสร้างแนวโน้มก่อน คือต้องฝึกมองให้ออกด้วยตาเปล่า ฝึกลากบ่อยๆ แล้วเราจะเริ่มเข้าใจมันไปเองครับ เคยสังเกตมั๊ยครับ ถ้ามีการสร้างแนวโน้ม คือ ขาขึ้นถ้าขึ้นก็เกิด L ก่อน แล้ววิ่ง H แล้วลงมาเป็น HL พอเกิดตรงนี้ได้แล้วดีดขึ้นไปต่อ คือ การเริ่มต้นของเทรนด์ขาขึ้นแล้วกราฟมักจะวิ่งขึ้นต่อไปเสมอ (มาให้ทันช่วงนี้ครับ อย่าตกรถ)

แต่ถ้าสังเกตให้ดี ถ้าไม่มีการสร้างแนวโน้มเทรดไปก็เท่านั่นครับ เพราะจะไม่มีแรงซื้อแรงขาย กราฟจะไม่วิ่งพุ่งไปแบบที่มีแนวโน้ม (sideways นั่นเอง) ที่นักลงทุนขาดทุนกันบ่อยก็เพราะรีบร้อนซื้อขายกันนี่แหละครับ เริ่มมองว่าเราเข้าเทรดที่ช่วง รอบไหนอยู่ ถ้าไปเทรนด์ซื้อในรอบขาขึ้น (โอกาสกำไรก็สูง) ไปเทรดในรอบช่วง sideways (โอกาสเสียเวลาและขาดทุนก็สูง) แต่ถ้าไปเทรดช่วงรอบขาลง (โอกาสกำไรก็สูง) นี่คือความสำคัญอันดับแรกที่ควรรู้ก่อนเข้าเทรด


บทเรียนที่ 2 : รู้แนวรับแนวต้าน

แนวรับ Support บอกถึงการที่ราคาลงมาที่แนวรับนั้นๆ แล้วแนวรับนั้นรับอยู่เลยดีดกลับขึ้นไปต่อ ส่วนแนวต้าน Resistance บอกถึงการที่ราคาวิ่งขึ้นไปชนแนวต้านนั้นๆ แล้วแนวต้านนั้นต้านอยู่เลยดีดกลับลงไปต่อ เรียกกันง่ายๆ แนวรับเพื่อไม่ให้ลงต่อ แนวต้านเพื่อไม่ให้ขึ้นไปต่อ

แนวรับ แนวต้าน สามารถบอกถึงเป้าหมายในอนาคตได้ คือ อดีตเคยขึ้นไปเป็นแนวต้านตรงไหน อนาคตก็จะขึ้นไปที่แนวต้านเดิมที่เคยขึ้น เช่นเดียวกัน อดีตเคยลงไปตรงไหนเป็นแนวรับ อนาคตก็จะลงไปที่แนวรับเดิมที่เคยลงไปถึง เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นรอบๆของการขึ้น ลง อดีตเคยเป็นยังไงอนาคตกราฟก็จะวิ่งไปที่เดิมที่เคยขึ้นและลงเสมอ ๆ

Double top เกิดจากการที่แนวต้าน (อดีต) และแนวต้านปัจจุบันมาชนที่เดียวกันมักจะดีดตัวกลับลงแรงๆ เสมอ คล้ายๆ กับตัว M บางครั้งจะเป็นตัว M หางยาว

double_top

ถามตอบท้ายบทเรียนที่ 2 : รู้แนวรับแนวต้าน

มีคำถามเพิ่มนิดหน่อยครับ – 1 cycle ของราคาเริ่มนับที่ไหน สิ้นสุดที่ไหน ขอบคุณมากครับ

ฝึกมองวัฏจักรของรอบการขึ้นลง และด้านข้างให้ออก กราฟจะวิ่งเป็นรอบ ๆ เสมอ ๆ เมื่อเข้าใจวัฏจักร เราก็สามารถเลือกอาวุธได้ถูกว่าเรากำลังเล่นกับแนวโน้มใดอยู่

ถ้าหลุดเทรนด์แบบแท่งเดียวยาว ๆ ควรจะตัดขาดทุนทันทีหรือจะรอเด้งกลับดีครับ

การตั้ง stop loss ควรตั้งไว้เลยก็จะดีครับ มีวินัยไม่มีวันขาดทุน กล้าที่จะยอมรับการตัดขาดทุน การไม่มีวินัยคือการขาดทุนที่แท้จริง ดูตามรูปครับ

cut_loss

เวลามันทะลุคือให้ส่วนไหนมันทะลุไปหรือครับ และควรดู TF ไหนว่ามันทะลุแล้ว บางทีพอมันทะลุไปทั้งแท่ง เข้าปุ๊ป กลับปั๊ป เสียตลอด พอเวลามันทะลุแบบยาวๆ ก็มักจะเข้าไม่ทัน พอจะมีวิธีบอกมั้ยครับ ว่าทะลุแล้วควรเข้าที่ตรงไหน


บทเรียนที่ 3 : ฝึกลากรูปแบบต่างๆ

หลังจากที่ฝึกหัดการมองเทรนด์แนวโน้มให้ออกแล้ว ก็เริ่มไปฝึกการมองหาแนวรับ-แนวต้าน
รู้จักกันดีแล้วก็เริ่มมองหาจังหวะเข้าซื้อขาย ฝึกกันบ่อย ๆ ครับ มองหาให้เจอบ่อย ๆ
นานๆไป จะทำให้เรามองภาพได้เร็วขึ้นและมองหาจังหวะได้ดีกว่านักลงทุนคนอื่น

ต่อไปก็มารู้จักรูปแบบจากการใช้เส้น trend line ในการลากรูปแบบต่างๆที่ฝรั่งเค้าเรียกว่า chart patterns

เราจะมาฝึกลากรูปแบบแรก คือ symmetrical triangle เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่สมดุลย์กัน
ลักษณะจะลากเอียงขาขึ้นและขาลงได้เอียงพอๆกัน

ในกรอบสามเหลี่ยมนั้นจะเห็นว่าเปิดกว้างแล้วค่อยๆ เล็กลงจนทำมุมเป็นสามเหลี่ยม
เป็นการเล่นราคากันระหว่างแรงซื้อและแรงขายที่ค่อยๆ บีบตัวจนเกิดรูปแบบดังกล่าว

เมื่อการบีบตัวในกรอบสามเหลี่ยมแคบลง โอกาสที่จะเกิดการระเบิดของราคาก็ยิ่งสูงขึ้น
เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมได้ (break out) กราฟก็จะกลับมาวิ่งแรงอีกครั้ง

อธิบายแบบง่ายๆ คือ รอให้ราคาซื้อราคาขายวิ่งในกรอบสามเหลี่ยมจากกว้างแล้วบีบตัวไปแคบ
ทะลุได้เมื่อไหร่แล้วค่อยพิจารณาซื้อขาย (การทะลุได้ คือการระเบิดที่เกิดจากการบีบตัวของราคาซื้อราคาขายนั่นเอง)

ถามตอบท้ายบทเรียนที่ 3 : ฝึกลากรูปแบบต่างๆ

มีรูปแบบต่างๆเกิดได้ทุก TF เลยหรือเปล่าครับ แล้วมันมีโอกาสที่จะไม่เป็นไปตาม patterns ไหมครับ

เกิดได้ทุก TF ครับ ถ้าไม่มีการเกิดรูปแบบพวกนี้ กราฟก็จะวิ่งขึ้นลงแบบง่ายๆ ครับ แต่ถ้ากราฟเกิดรูปแบบพวกนี้เมื่อใดคือการสะสมแรง ทะลุรูปแบบพวกนี้ได้เมื่อใดเป็นการยืนยันกลับมาวิ่งอีกครั้ง จะเห็นรูปแบบพวกนี้เสมอๆครับ เหมาะสำหรับหาจังหวะที่จะเข้าเทรด แต่เมื่ออยู่ในกรอบรูปแบบพวกนี้ควรรอก่อน

ผมมีข้อสงสัยอยู่นิดหน่อยอ่ะครับ คือว่า การฝึดขีดเส้นนี้อ่ะครับ คือ ผมอยากทราบว่าเราจะขีดเส้นตรงไหน ถึงจะมองแนวโน้มของปัจจุบันออกอ่ะครับ คือ ดูจากกราฟที่ท่านอาจารย์ the_greenday ให้มา เหมือนจะขีดเส้นของเก่าที่ผ่านมาแล้วอ่ะครับ แล้วถ้าผมอยากมองแนวโน้มของปัจจุบันนี้ ผมครวจะเริ่มตรงไหนเหรอครับ อืม.. แล้วเล่นสั้นกับยาวนี้ขีดเส้นเหมือนกันไหมครับ หรือว่าต่างกันยังไงอ่ะครับ

บทเรียนที่ 4 : วัฎจักรของกราฟ

เวลาทำการในตลาด forex

ตลาด Australian Dollar (AUD) เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 5.00 – 13.00 น.
ตลาด Japanese Yen (JPY) เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 7.00 – 14.00 น.
ตลาด Euro (EUR) เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 13.00 – 21.00 น.
ตลาด Swiss Franc (CHF) เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 13.00 – 21.00 น.
ตลาด British Pound (GBP) เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 14.00 – 22.00 น.
ตลาด US Dollar (USD) เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 19.00 – 3.00 น.


บทเรียนที่ 5 : เครื่องมือช่วยการยืนยัน

เครื่องมือช่วยการยืนยัน #1 MACD

เครื่องมือช่วยการยืนยันตัวแรกเริ่มด้วย MACD
เรียกเต็มๆ ว่า Moving Average Convergence Divergence

MACD สามารถบอกแนวโน้มได้ บอกการเกิด overbought, oversold และสามารถหาการเกิด divergence
ขอยกให้ MACD เป็นราชาแห่ง indicator ที่ใช้ได้ดีกับทุกช่วงเวลา

overbought คือ อยู่ในสภาพที่มีแรงซื้อมากเกินไป อิ่มตัวขาขึ้น แต่ไม่ใด้หมายความว่าเป็นจังหวะขายเสมอไป
เพราะการอิ่มตัวขาขึ้น กราฟอาจจะวิ่งต่อได้

oversold คือ อยู่ในสภาพที่มีแรงขายมากเกินไป อิ่มตัวขาลง แต่ไม่ใด้หมายความว่าเป็นจังหวะซื้อเสมอไป
เพราะการอิ่มตัวขาลง กราฟอาจจะวิ่งต่อได้เหมือนกัน

MACD คือ การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หากำลังแนวโน้มของทิศทางว่ามีพลังมากน้อยแค่ไหน
ช่วยในการยืนยันของการมองกราฟอีกชั้น เพื่อความถูกต้องและน่าจะเป็นในทิศทางที่จะเกิดขึ้น

เครื่องมือช่วยการยืนยัน #2 RSI

RSI เรียกเต็มๆว่า Relative Strength Index

เป็นเครื่องมือบอกถึงความแข็งแกร่งและบอกการเกิดแนวโน้ม บอกการเกิด overbought (อิ่มตัวขาขึ้น), oversold (อิ่มตัวขาลง) บอกการเกิด divergence ได้เช่นกัน RSI เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากเช่นกัน โดยจะแนะนำให้ใช้ค่าเดิม RSI (14)

การดูเส้น RSI ดูที่ระดับ 30 กับ 70
- ต่ำกว่าเส้น 30 คืออยู่ในเขต oversold ช่วงอิ่มตัวขาลงเป็นช่วงแรงขายมาก
แต่บางครั้งถ้าแนวโน้มยังคงเป็นขาลงก็ยังไม่สามารถซื้อได้ถ้าแนวโน้มยังลงอยู่
- เหนือกว่าเส้น 70 คืออยู่ในเขต overbought ช่วงอิ่มตัวขาขึ้นเป็นช่วงแรงซื้อมาก
แต่บางครั้งถ้าแนวโน้มยังคงเป็นขาขึ้นก็ยังไม่สามารถขายได้ถ้าแนวโน้มยังขึ้นอยู่

เครื่องมือช่วยการยืนยัน #3 Moving Average

Moving Average คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

ในที่นี้จะแนะนำ EMA หรือเรียกว่า Exponential Moving Average
โดยเส้น EMA50 ผู้ใช้ได้ทดลองใช้แล้วคิดว่าลงตัวและใช้ได้ดี
(ส่วนใครอยากทดลองใช้เส้นค่าเฉลี่ยอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน โดยมองด้วยตาแล้วคิดว่าลงตัวและเหมาะกับนิสัยที่เราเทรด)
เส้นค่าเฉลี่ยสามารถบอกได้ถึง จุดซื้อ จุดขาย จากการยืนเหนือเส้นและใต้เส้น และการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยสองเส้นบอกการซื้อและขาย สามารถบอกได้ถึงแนวรับ แนวต้าน เมื่อวิ่งมาชนเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

วิธีใช้ EMA
กราฟราคายืนเหนือเส้น EMA50 = buy
กราฟราคายืนใต้เส้น EMA50 = sell

ช่วงเกิด sideways เส้น EMA50 จะเกิดการหลอก (งดดูช่วงนี้) ควรมองแนวโน้มให้ออกก่อนแล้วจึงใช้ EMA50 ยืนยัน

เครื่องมือช่วยการยืนยัน #4 Fibonacci Retracement

เครื่องมือที่ช่วยหาเป้าหมาย fibonacci retracement
สามารถบอกได้ถึงระดับช่วงพักตัวและการหาเป้าหมาย โดยจะแบ่งเป็นช่วงๆได้ดังนี้

ช่วงจุดพักตัว ระดับของ fibonacci มักจะอยู่แถวๆระดับ 23.6 38.2 50.0 61.8 78.6
ทั้ง 5 ระดับนี้มักจะเป็นจุดแนวรับ แนวต้านที่ดีของการพักตัว (ทั้งระดับขาขึ้นและขาลง)

fibonacci ใช้หาเป้าหมายในอนาคตนั้น มักจะอยู่แถวๆระดับ 161.8 261.8 423.6 เสมอๆ

ผมได้ทดลองใช้มานานพอสมควร จึงแนะนำว่ามีแค่สองหลักง่ายๆแค่นี้ครับ มองระดับการพักตัว และมองหาเป้าหมายตามที่บอก

วิธีการลาก fibonacci retracement
- หาแนวโน้มขาลงให้ลากจากต่ำสุดไปหาสูงสุดของแนวโน้มอดีต (ที่จบแนวโน้มนั้นแล้ว)

- หาแนวโน้มขาขึ้นให้ลากจากสูงสุดลงมาต่ำสุดของแนวโน้มอดีต (ที่จบแนวโน้มนั้นแล้ว)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น